ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มาใช้DropBox กันเถอะ

การติดตั้งและการใช้งานโปรแกรม Dropbox
ความสามารถของโปรแกรม
(๐^.^๐) ..... \(»-(¯`v´¯)-».....(๏[-ิ_ิ]๏_)....˙<>˙)/ .....
  1. แชไฟล์เครื่องต่อเครื่องได้โดยที่ไม่ต้องใช้แลนวงเดียวกัน ขอแค่มีอินเตอร์เน็ตเท่านั้น อยู่ที่ไหนก็ได้ในโลกนี้สามารถแชได้หมด
  2. ไม่ต้องเสียเวลาอั๊บให้ยากแค่ Copy ไฟล์ที่เราต้องการจะแชไปไว้ในห้องที่เราสร้างไว้เท่านั้น ก็จะอั๊บให้เราเอง
  3. สามารถ Copy URL หรือลิ้งไปวางไว้ในเว็บที่ไหน หรือส่งให้เพื่อนโหลดทางเอ็มก็ได้
  4. กำหนดได้ว่าจะแชกับใคร หรือสร้างห้องใหม่ขึ้นมาเพิ่มก็ได้เผื่อว่าใครต้องการส่วนตัว

วิธีการสมัคร
1. สมัคร Cilck Here
2.จะขึ้นหน้าจอให้กรอกรายละเอียดดังรูป

3. เมื่อ Create Account เสร็จแล้ว ให้ไปที่ Download
4.เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้ว ให้ทำการ Double Click เพื่อทำการติดตั้ง Click ปุ่ม Install
5. โปรแกรมจะทำการติดตั้ง รอสักครู่... เมื่อติดตั้งเสร็จจะมีกรอบใหม่เด้งขึ้นมาดังรูป
6.ให้เลือก I already have drobbox account เพราะเราได้ลงทะเบียนไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว
7.หลังจากนั้นจะมีกรอบใหม่ขึ้นมาให้กรอก E-mail และ password กรอกให้เหมือนกับตอนที่สมัครไว้ส่วน Computer Name ใส่อะไรลงไปก็ได้ เสร็จแล้วกด Next
8. เสร็จแล้วจะมีกรอบขั้นมาให้เลือกดังรูปเลือก 2GB Free ถ้าอยากได้มากกว่ากว่านั้นต้องเสียเงิน
9.กด Next กด Next ไปเรื่อยจนถึง Finish
วิธีใช้ ถ้าจะแชให้ Copy ไฟล์ที่เราต้องการจะแชไปไว้ใน Folder Public แล้ว คลิกส์ขวาที่ไฟล์ที่เราต้องการจะแชร์
ไปที่ Dropbox แล้วเลือกตามลักษณะการใช้งานดังนี้
  • Browse on Dropbox website คือ เราจะเข้าไปตั้งค่าอื่นๆนอกจากที่ผมได้กล่าวมาแล้ว เช่น เข้าไปตั้งให้ใครเห็น folder ที่เราแชไว้แล้วบ้าง
เข้าไปเชิญคนอื่นๆใช้ dropbox บ้าง โดย เชิญครั้งหนึ่งจะได้พื้นที่เพิ่ม 250 MB
ลูกเล่นต่างๆลองเข้าไปศึกษาดูนะครับมีอยู่ไม่มากเท่าไร
  • View previous version เข้าใจว่าจะเข้าไปดูโปรแกรมเวอร์ชั่นเก่าอะครับตัวนี้ผมคิดว่าไม่ค่อยได้ใช้ครับ
  • Copy public link ก็คือ ในกรณีที่เราต้องการ Copy URL หรือ Link ไป ส่งให้เพื่อนโหลดโปลแกรมที่เราอั๊บขึ้น ส่งทางเอ็ม หรือ นำไปวางที่เว็บไหนก็ได้ครับ
เพิ่มเติม นอกจาก folder ที่เขากำหนดมาให้แล้วเราก็ยังสร้าง folder เพิ่มก็ได้ครับ เมื่อสร้างขึ้นแล้วเราก็ต้องเข้าไปกำหนดแชและ อินไว้ให้กับคนที่เราจะแชด้วยตอบรับด้วยนะครับ
คนที่เราอินไว้ให้จะต้องใช้ Dropbox ด้วยครับ
และถ้าเรานำโปรแกรม My dropbox ไปติดตั้งที่ไหนก็ตาม และ login ด้วย Account ของเราก็จะเจอไฟล์ที่เราใช้ไว้ทุกทีครับ

เริ่มต้นใช้ Dropbox
        การเริ่มต้นใช้ Dropbox นั้น จำเป็นต้องดาวน์โหลดโปรแกรม Client จาก www.dropbox.com ก่อน ซึ่งตอนนี้ทาง Dropbox นั้นมี Client สำหรับ Windows, Mac OS X และ Linux ให้พร้อม อีกทั้งยังมี Client สำหรับอุปกรณ์พกพา ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการ iOS (iPhone, iPad และ iPod Touch) และ Android ด้วย สำหรับอุปกรณ์พกพา BlackBerry นั้นทางบริษัทกำลังพัฒนาโปรแกรม Client อยู่ เมื่อทำการดาวน์โหลดและลงโปรแกรม Client แล้ว โปรแกรมจะให้สมัครสมาชิก ผู้ใช้สามารถทดลองใช้โดยสมัครสมาชิกแบบฟรี ซึ่งจะได้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล 2GB และสามารถอัพเกรดสถานะสมาชิกเพิ่มได้ภายหลัง ถ้าผู้ใช้เป็นสมาชิกอยู่แล้วก็สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องที่ใช้อยู่เข้ากับ Dropbox Cloud ได้เลย

        เมื่อสมัครสมาชิกแล้วโปรแกรม Client จะสร้างโฟลเดอร์ชื่อ My Dropbox ขึ้นใน My Documents และจะสร้าง Shortcut ให้ใน Favorites (สำหรับ Windows 7) หรือใน Sidebar (สำหรับ Mac OS X) โฟลเดอร์นี้อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเอง (Local Folder) แต่โปรแกรม Client จะคอยตรวจสอบว่ามีไฟล์ใหม่เพิ่มเข้ามา หรือมีการแก้ไขไฟล์ในโฟลเดอร์นี้หรือไม่ และจะทำการอัพโหลดเอกสารใหม่หรือที่มีการแก้ไขขึ้นไปยัง Dropbox Cloud อัตโนมัติถ้าคอมพิวเตอร์มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

        เอกสารที่อัพโหลดขึ้นไปบน Dropbox Cloud นั้น จะได้รับการป้องกันและตรวจสอบการเข้าถึง ซึ่งผู้ใช้และบุคคลที่ผู้ใช้อนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงเอกสารได้ แต่ในโฟลเดอร์ My Dropbox นั้นจะมี 2 โฟลเดอร์ย่อย นั่นคือ Public กับ Photos เอกสารที่อยู่ในโฟลเดอร์ Public นั้นจะสามารถเข้าถึงโดยบุคคลทั่วไปด้วย ดังนั้น ผู้ใช้จึงควรระวังว่าเอกสารที่อยู่ใน Public นั้นเป็นเอกสารที่ต้องการให้ทุกคนเข้าถึงได้จริงๆ

 Image

        โปรแกรม Client นั้นจะโหลดตัวเองเข้าไปอยู่ใน Icon Tray (ของ Windows) ผู้ใช้สามารถดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอนนี้เพื่อเปิดโฟลเดอร์ My Dropbox ได้อย่างรวดเร็ว ถ้าคลิกขวาที่ไอคอนนี้จะมีหน้าต่างแจ้งรายละเอียดการใช้งานพื้นที่และสามารถเข้าหน้า Preferences เพื่อปรับแต่งการทำงานของ Dropbox ได้ ในหน้า Preferences นั้นเราสามารถย้ายตำแหน่งโฟลเดอร์ My Dropbox ไปที่อื่นได้ตามต้องการ และสามารถจัดการ Proxy ในการอัพโหลดเอกสารได้ เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้งาน Dropbox
        1. การเข้าถึงเอกสารผ่านระบบกลุ่มเมฆ
        ไฟล์ที่อัพโหลดผ่าน My Dropbox โฟลเดอร์นั้นจะมีอยู่ทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวและอยู่บน Dropbox Cloud ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์เหล่านี้ผ่านหน้าเว็บฯ ของ Dropbox.com ได้เช่นกัน ดังนั้นถึงแม้ผู้ใช้ไม่ได้นำคอมพิวเตอร์ของตนเองติดตัวไปด้วย ก็สามารถเข้าถึงไฟล์ของตนได้ผ่านเว็บฯ นอกจากนี้ยังสามารถอัพโหลดไฟล์ใหม่เข้าไปยัง Dropbox Cloud ผ่านหน้าเว็บฯ ได้ด้วย เมื่อผู้ใช้กลับไปใช้คอมพิวเตอร์ของตนเอง โปรแกรม Client จะทำการดาวน์โหลดไฟล์ใหม่นี้จาก Cloud มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวของผู้ใช้โดยอัตโนมัติ การใช้งาน Dropbox ในลักษณะนี้จึงเหมือนกับการมี Thumb Drive ส่วนตัวของเราอยู่บน Cloud ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ๆ มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เหมาะกับผู้ใช้ที่ต้องเดินทางบ่อยหรือนำคอมพิวเตอร์ส่วนตัวไปใช้ไม่สะดวก หรือกลัวทำ Thumb Drive หล่นหาย เช่น เมื่อผมจะเดินทางไปบรรยายหรือสอนนอกมหาวิทยาลัย ก็สามารถนำเอกสารประกอบการสอนไปไว้ใน My Dropbox บนคอมพิวเตอร์ส่วนตัว เมื่อโปรแกรม Client ทำการอัพโหลดเอกสารไปบน Cloud แล้ว ผมก็จะสามารถเข้าถึงเอกสารได้จากทุกที่ๆ ไปบรรยาย โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องนำ Thumb Drive ไปเสียบ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดไวรัสอีกด้วย

 Image

        2. การ Synchronize ไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่าหนึ่งเครื่อง
        คุณสมบัติเด่นของ Dropbox ก็คือ การทำให้ไฟล์ใน My Dropbox โฟลเดอร์นั้นเหมือนกันทั้งบนคอมพิวเตอร์ส่วนตัวและบน Cloud (Synchronization) ดังจะเห็นว่า เมื่อเราเพิ่มหรือแก้ไขเอกสารบนคอมพิวเตอร์ส่วนตัว โปรแกรม Client ก็จะนำไปเพิ่มบน Cloud ด้วย หรือถ้าเราเพิ่มเอกสารบน Cloud ผ่านหน้าเว็บฯ โปรแกรม Client ก็จะนำมาเพิ่มบนคอมพิวเตอร์ส่วนตัวด้วยเช่นกัน จากคุณสมบัตินี้ทำให้ผู้ใช้สามารถนำโปรแกรมนี้ ไปลงที่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น โดยให้เชื่อมต่อมายังบัญชีสมาชิกเดียวกัน โปรแกรม Client ก็จะจัดการ My Dropbox โฟลเดอร์ ให้มีเอกสารเหมือนกับบน Cloud และเหมือนๆ กับเครื่องอื่น ของผู้ใช้ด้วย ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์ของตนเองจากคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีโปรแกรม Client ลงอยู่และเชื่อมกับบัญชีเดียวกันได้

        การ Synchronization แบบนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเอกสารชุดเดียวกันแม้จะใช้คอมพิวเตอร์คนละเครื่อง หรือจะใช้ระบบปฏิบัติการคนละประเภท เช่น ผมใช้คอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยเป็น Linux ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้านเป็น Windows XP และใช้คอมพิวเตอร์พกพาเป็น Mac OS X ก็สามารถเข้าถึงไฟล์ชุดเดียวกันได้ และถ้าผมแก้ไขเอกสารบนคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัย เมื่อกลับมาใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้านก็จะมีไฟล์ที่แก้ไขแล้วพร้อมรอใช้งานต่อทันที โดยผมไม่จำเป็นต้องก็อปปี้หรือส่งไฟล์มาทาง E-mail เลย

        3. การแชร์โฟลเดอร์ระหว่างคอมพิวเตอร์มากกว่า หนึ่งเครื่อง
        การทำงานในลักษณะนี้ของ Dropbox นั้นจะคล้ายกับการ Share โฟลเดอร์ผ่านโปรโตคอลประเภท SAMBA หรือ CIFS ที่ผู้ใช้งาน Windows ส่วนมากจะเรียกว่าการ Map Network Drive ซึ่งเครื่องที่มีเอกสารอยู่นั้นจะทำการ Share โฟลเดอร์เพื่อให้เครื่องอื่นๆ ทำการ Map Network Drive มาอ่านและแก้ไข เอกสารในโฟลเดอร์นั้นๆ ได้ ข้อแตกต่างระหว่าง SAMBA/CIFS กับ Dropbox ก็คือ SAMBA/CIFS ทำงานแบบ Client/Server บน LAN ในขณะที่ Dropbox ทำงานแบบกลุ่มเมฆผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความยืดหยุ่นและครอบคลุมขอบข่ายที่กว้างกว่า เพราะการทำงานแบบ Client/Server นั้นถ้าเครื่องที่ทำการ Share มีปัญหาหรือไม่ได้เปิด เครื่องอื่นๆ ก็ไม่สามารถเข้าถึงเอกสารบน Server ได้เลย ทำให้ Server เป็น Single Point Of Failure ในขณะที่การทำงานของ Dropbox นั้นถ้าอินเทอร์เน็ตล่มหรือเข้าถึง Dropbox Cloud ไม่ได้ เครื่องแต่ละเครื่องก็ยังมีเอกสารอยู่ใน My Dropbox โฟลเดอร์บนเครื่องนั้น ผู้ใช้ยังสามารถใช้เอกสารบนคอมพิวเตอร์ของตัวเองไปก่อนได้ เมื่อสามารถเข้าถึง Dropbox Cloud ได้ใหม่ โปรแกรม Client บนแต่ละเครื่องจะทำการ Synchronize เอกสารใหม่อัตโนมัติ

        เนื่องจาก Dropbox คล้ายกับการแชร์เอกสารผ่าน SAMBA/CIFS บริษัทต่างๆ สามารถนำไปใช้งานในลักษณะเดียวกันได้ทันที ในขณะที่การแชร์โฟลเดอร์ผ่าน Network Drive ทำไม่ได้ เช่น แชร์โฟลเดอร์ข้ามสำนักงานสาขาต่างๆ เป็นต้น ทางบริษัท Dropbox เองก็เห็นประโยชน์ด้านนี้ จึงสร้างโปรแกรม Client ให้ตรวจสอบเอกสารใหม่ในวง LAN ก่อน นั่นคือ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องในวง LAN เดียวกัน เชื่อมต่อกับบัญชี Dropbox เดียวกัน เมื่อมีเอกสารใหม่เข้ามาที่เครื่องหนึ่ง คอมพิวเตอร์อีกเครื่องจะสามารถดาวน์โหลดเอกสารนั้นจากคอมพิวเตอร์ในวง LAN เดียวกันได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้คอมพิวเตอร์เครื่องแรกอัพโหลดเอกสารไป บน Dropbox Cloud ก่อน ทำให้การ Synchronize ระหว่างคอมพิวเตอร์ในวง LAN เดียวกันนั้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

        4. การทำงานร่วมกันผ่าน Dropbox
        การแชร์ไฟล์โดยใช้บัญชีเดียวกันนั้นอาจไม่เหมาะสมในบางกรณี เช่น ผู้ใช้บางคนไม่ต้องการให้คนอื่นเข้าถึงบางไฟล์หรือบางโฟลเดอร์ได้ ถ้าใช้บัญชีชื่อเดียวกันในการ Synchronize ทุกคนจะสามารถเห็นเอกสารทุกอย่างใน My Dropbox โฟลเดอร์ได้ทั้งหมด การแก้ปัญหานี้สามารถทำได้ใน Dropbox คือ เราสามารถแชร์บางโฟลเดอร์ให้ผู้ใช้คนอื่นโดยไม่จำเป็นต้องใช้บัญชีเดียวกัน ดังนี้ ผู้ที่ต้องการแชร์โฟลเดอร์สามารถล็อกอินเข้าเว็บฯ ของ Dropbox ได้ที่ www.dropbox.com จากนั้นให้เข้าไปในโฟลเดอร์ที่ต้องการแชร์ แล้วกด “Invite to Folder” จากนั้นระบบจะถาม E-mail ของผู้ใช้ที่เราจะแชร์ด้วย แล้วระบบจะส่ง E-mail ไปเชิญผู้ใช้คนนั้นให้เข้ามาสมัครสมาชิกและทำการแชร์ โดยโฟลเดอร์นั้นจะไปปรากฏอยู่ภายใต้ My Dropbox โฟลเดอร์ของผู้ใช้คนนั้นผ่านทางโปรแกรม Client ทันที และโฟลเดอร์นี้จะ Synchronize กับโฟลเดอร์ต้นฉบับของผู้ใช้ที่เป็นเจ้าของด้วย นั่นคือ ถ้าเจ้าของแก้ไขหรือเพิ่มเติมเอกสาร ผู้ใช้อีกคนก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงในโฟลเดอร์ของตนด้วย เจ้าของโฟลเดอร์ควรระวังว่า เมื่อผู้ใช้คนอื่นได้รับคำเชิญและเข้ามาใช้โฟลเดอร์ที่เจ้าของทำการแชร์แล้ว ผู้ใช้คนนั้นสามารถเชิญคนอื่นมาร่วมแชร์โฟลเดอร์นั้นเพิ่มเติมได้ด้วย (ระบบจะทำการ E-mail แจ้งเจ้าของโฟลเดอร์ว่ามีผู้ใช้ใหม่เพิ่มเติม แต่นั่นก็อาจจะสายเกินไปแล้ว

        หมายเหตุ: เจ้าของสามารถแชร์โดยคลิกขวาบนโฟลเดอร์ที่ต้องการแชร์ใน My Dropbox โฟลเดอร์บนเครื่องของตนเอง เลือก Dropbox -> Share This Folder ก็จะไปที่หน้าเว็บฯ ที่สามารถ Invite to Folder ได้เช่นกัน

 Image

        ผู้ใช้ซึ่งเป็นเจ้าของโฟลเดอร์สามารถควบคุมผู้ที่เข้าร่วมใช้งานโฟลเดอร์ที่แชร์ได้ โดยให้ไปที่เว็บฯ ของ Dropbox เข้าไปยังโฟลเดอร์ที่แชร์ไว้ แล้วเลือก Share Folder Options แล้วเลือก Members เจ้าของโฟลเดอร์จะสามารถยกเลิกการแชร์ของผู้ใช้คนใดคนหนึ่ง (Kick Out) หรือทุกคน (Unshare) ได้ เมื่อยกเลิกการแชร์เจ้าของโฟลเดอร์จะสามารถเลือกได้ว่า จะให้ผู้ใช้คนอื่นเก็บโฟลเดอร์นั้นไว้บนเครื่องของเขาต่อหรือไม่ ถ้าเจ้าของไม่อนุญาตให้เก็บเอกสารไว้ โฟลเดอร์บนเครื่องของผู้ใช้คนอื่นจะถูกลบออกจากเครื่องของเขาอัตโนมัติโดยโปรแกรม Client

        การจัดการเอกสารของ Dropbox นั้นยังไม่สมบูรณ์เหมือนระบบจัดการเนื้อหาสาระ (Content Management System) ทั่วไป นั่นคือ Dropbox ยังไม่มีการล็อกเอกสาร เมื่อมีผู้ใช้ทำ การแก้ไข ทำให้ผู้ใช้สองคนสามารถแก้ไขเอกสารเดียวกันพร้อมกันได้ และ Dropbox จะไม่สามารถรวมข้อแก้ไขของผู้ใช้แต่ละคนเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจทำให้การแก้ไขของผู้ใช้บางคนหายไป จากเอกสาร เพราะ Dropbox จะใช้เอกสารที่มีการบันทึกครั้งสุดท้ายเท่านั้น หรือถ้าผู้ใช้มาเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทีหลัง แล้วทำการอัพโหลดเอกสารที่แก้ไขแล้ว จะทำให้เกิดความ ขัดแย้งกันในเอกสาร ระบบ Dropbox จะทำการบันทึกเอกสารที่ขัดแย้งนั้นเป็นเอกสารใหม่

        สิ่งที่ Dropbox มีคล้ายกับระบบจัดการเอกสารก็คือ เรื่องการทำเวอร์ชั่น ในการแก้ไขไฟล์ใน My Dropbox โฟลเดอร์นั้น ระบบจะทำการบันทึกไฟล์เก่าไว้ด้วย ผู้ใช้สามารถดูไฟล์เวอร์ชั่นเก่าได้โดยคลิกขวาที่ไฟล์ เลือก Dropbox -> View Previous Versions…ซึ่งจะเปิดหน้าเว็บฯ ที่แสดงเวอร์ชั่นเก่าของไฟล์นั้นขึ้นมา โดยจะมีรายละเอียดว่าเวอร์ชั่นนั้นมีการแก้ไขโดยใครและเมื่อวันเวลาใดด้วย ผู้ใช้สามารถเปิดไฟล์เก่าดูได้ และเลือกใช้ไฟล์เก่าแทนไฟล์ปัจจุบันได้ด้วย ระบบการทำเวอร์ชั่นนี้ทำให้การแก้ไขไม่สูญหายไปจากระบบทันที และสามารถช่วยกู้ข้อมูลการแก้ไขที่ซ้ำซ้อนจากผู้ใช้สองคนได้ระดับหนึ่ง เพราะถึงแม้จะมีการบันทึกข้อมูลที่ซ้ำซ้อนจนข้อมูลการแก้ไขของผู้ใช้คนหนึ่งหายไป ก็ยังสามารถกลับมาดูเวอร์ชั่นเก่าของเอกสารนั่นได้

สรุป
        Dropbox เป็นระบบจัดการไฟล์เอกสารผ่านกลุ่มเมฆ ซึ่งจัดอยู่ในประเภท Infrastructure-as-a-Service ระบบ IaaS นี้ไม่ได้ให้บริการพื้นที่เก็บไฟล์เพียงอย่างเดียว แต่ยังให้บริการเสริมต่างๆ ในรูปแบบของ Service อีกด้วย บริการเสริมเหล่านั้นก็คือ การ Synchronize ไฟล์เอกสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ การแชร์โฟลเดอร์ให้ผู้ใช้งานอื่นร่วมใช้ และการทำเวอร์ชันเอกสารซึ่งเก็บเอกสารเก่าไว้ด้วย ส่วนการล็อกเอกสารและจัดการๆ แก้ไขเอกสารพร้อมกันนั้นเป็นเรื่องยากของระบบลักษณะนี้ และอาจทำให้ Dropbox กลายเป็น Document Management System (ระบบจัดการเอกสาร) แทนที่จะเป็น Distributed File System (ระบบไฟล์แบบกระจาย) ดังที่เป็นอยู่

        การใช้งานที่กล่าวถึงในบทความนี้เป็นการใช้งานพื้นฐาน เมื่อระบบสามารถ Synchronize ไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ผู้ใช้ก็สามารถจินตนาการวิธีใช้งานได้อย่างหลากหลาย นอกเหนือจากการใช้งานเอกสารธรรมดาแล้ว เรายังสามารถใช้ Dropbox ในการ Synchronize ไฟล์ประเภทอื่น เช่น Bookmarks ที่ใช้ในเว็บเบราเซอร์ (ทำให้เราบันทึก Bookmark บนเครื่องเดียวแต่ใช้ได้ทุกเครื่อง) หรือไฟล์พาสเวิร์ด แม้กระทั่งไฟล์ปรับแต่งโปรแกรมหรือเซิร์ฟเวอร์ (Configuration File) ผู้ใช้บางคนสามารถสร้างหน้าเว็บฯ บน Public โฟลเดอร์ของ My Dropbox และให้ผู้อื่นเข้ามาดูได้โดยไม่ต้องตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์เอง นอกจากนี้ Dropbox ยังเปิด API (Application Programming Interfaces) เพื่อให้ผู้พัฒนาโปรแกรมเจ้าอื่นสามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบของ Dropbox ได้ด้วย และมีผู้พัฒนาหลายเจ้าที่สร้าง plug-ins ในการเชื่อมต่อ Dropbox กับโปรแกรมซึ่งเขียนด้วย PHP และ Python หรือเชื่อมต่อกับระบบจัดการเนื้อหา เช่น Joomla หรือ Drupal อีกด้วย ซึ่งถ้ามีโอกาสผมจะนำเสนอทริควิธีการใช้ Dropbox ขั้นสูงต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น